คนไทยได้-เสียอะไร หากรัฐบาลขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT 15%

VAT 15%

คนไทยได้-เสียอะไร หากรัฐบาลขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT 15%

“ธนกร วังบุญคงชนะ” ขอ คลัง-รัฐบาล ศึกษาปรับโครงสร้างภาษีรอบคอบ ชี้ VAT 15%  สูงไปไม่สอดคล้องสภาวะเศรษฐกิจ กระทบคนรายได้น้อย-ปานกลางแน่ แนะรับฟังทุกด้านให้ดี ก่อนไฟเขียวใช้จริง วันที่ 5 ธ.ค. 2567 นายธนกร วังบุญคงชนะ รองหัวหน้าพรรคและ สส. บัญชีรายชื่อพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ให้สัมภาษณ์กรณีที่นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และ รมว.คลัง เปิดเผยว่าอยู่ระหว่างการศึกษาการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลโดยใช้สูตร 15:15:15 เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล-บุคคลธรรมดา

รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT ให้อยู่ที่ 15%

ว่า  VAT 15% ตนเข้าใจว่ารัฐบาลต้องการที่จะหารายได้ภาษีให้เพิ่มขึ้นโดยการขึ้น VAT ส่วนหนึ่งเพื่อเอาไปชดเชยรายได้ภาษีที่ลดลงจากการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รวมถึงต้องการหารายได้เพิ่มขึ้นเพื่อนำไปพัฒนาประเทศผ่านโครงการลงทุนภาครัฐที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้งจัดสวัสดิการให้ประชาชนกลุ่มรายได้น้อยหรือเปราะบาง ซึ่งการมีรายได้ภาษีที่เพิ่มขึ้นเพียงพอก็จะช่วยลดการกู้ ลดภาระหนี้สาธารณะ ซึ่งปีนี้คาดว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงถึง 65.74% ใกล้เพดาน 70% เข้าไปทุกที

การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดาของรัฐบาล แม้จะมีเป้าหมายที่ดีในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่จำเป็นต้องมีแผนปฏิรูปภาษีที่รอบคอบและสมดุล เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความยั่งยืนทางการคลัง และการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจะช่วยกระตุ้นการลงทุน เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI)  VAT 15% ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจ้างงานและการเพิ่มรายได้ของประชาชน ในขณะที่การลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะช่วยเพิ่มรายได้ที่สามารถใช้จ่ายได้จริง กระตุ้นการบริโภคและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

นายพิชัย ซึ่งเป็นประธานเปิดงาน ขึ้นบรรยายในหัวข้อ

VAT 15% Financial Policies for Sustainable Economy หรือนโยบายทางการเงินสำหรับเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยเขาได้กล่าวถึงนโยบายการคลัง และนโยบายการเงินเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ โดนปรากฏแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปการจัดเก็บภาษีของประเทศทั้งระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยการปรับการจัดเก็บภาษีประเภทต่าง ๆ ดังนี้

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งประเทศไทยกำลังจะปรับให้เป็นไปตามการเก็บภาษีนิติบุคคลระดับโลกขั้นต่ำ (Global Minimum Tax – GMT) ซึ่งนับร้อยประเทศทั่วโลกบรรลุข้อตกลงร่วมกันเรื่องการเก็บภาษีระหว่างประเทศ โดยไทยจะศึกษาการจัดเก็บจาก 20% เป็น 15%

นายพิชัย อธิบายว่า ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไปแล้ว และหลายบริษัทเป็นมัลติเนชันแนลข้ามชาติ โดยเฉพาะทางซีกโลกตะวันตกที่ไปลงทุนทั่วโลก VAT 15%  ตั้งบริษัทตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ภาษีอาจไม่ได้เสียไปอยู่กับเจ้าของประเทศ แต่ไปอยู่กับกลุ่มประเทศ tax havens (กลุ่มประเทศซึ่งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นเครื่องมือดึงดูดบริษัทข้ามชาติ) แต่การเก็บภาษี GMT ทุกคนที่ทำการค้าขายระหว่างประเทศอย่างน้อยต้องรับผิดชอบต่อเจ้าของประเทศ ซึ่งมีการกำหนดอัตราขั้นต่ำไว้ที่ 15% วันนี้อัตรา 15% วิเคราะห์การเมือง ได้แพร่หลายไปแล้ว ประเทศไทยก็ต้องดำเนินมาตรการนี้ด้วย

VAT 15%

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *